การรักษาความปลอดภัยภายนอก xat

From xat wiki
Revision as of 00:37, 20 January 2018 by FuzzyBot (talk | contribs) (Part of translatable page "External Security")

External Security เป็นการรักษาความปลอดภัยนอกเหนือการควบคุมของ xat และอยู่ในการดูแลของผู้ใช้เอง เช่นการใช้รหัสผ่านที่ดีและการป้องกันอีเมลของผู้ใช้

ทั้งนี้ เกร็ดเล็กน้อยเหล่านี้ไม่ได้มีผลโอยตรงต่อ xat และเป็นทางเลือกของผู้ใช้เองในการปฏิบัติตามซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกเว็บไซต์ เกร็ดเล็กน้อยเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับบัญชี xat ของคุณ และทางเราแนะนำให้คุณนำไปใช้ให้เต็มที่

จำไว้ว่าทาง xat จะ"ไม่มีทาง"ขอข้อมูลส่วนตัวของคุณโดยเด็ดขาด

รหัสผ่าน

รหัสผ่านเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของบัญชี และการมีรหัสผ่านที่แข็งแรงก็เป็นเรื่องสำคัญในการใช้ xat หรือเว็บใดๆ การมีรหัสผ่านที่แข็งแรงจะป้องกันจากการเดารหัสผ่านของคุณ [1]

เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถเดารหัสผ่านของคุณได้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อของคุณหรือชื่อคนในครอบครัว ชื่อผู้ใช้ วันเกิด อักษรที่ซ้ำๆ หรือคำใดๆ ที่มันจะพบได้ง่ายๆ ในพจนานุกรม และโปรดจำไว้ว่าให้ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกับรหัสผ่านอีเมลของคุณ

โปรดสังเกต: สำหรับ xat ตัวอักษรพิเศษใดๆ จะถูกตัดออกจากรหัสผ่าน จึงขอให้มั่นใจว่ามีการใช้งานเพียงตัวอักษรและตัวเลขเท่านั้น (a-z, A-Z, 0-9)

การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแรง

การสร้างรหัสผ่านที่ดีอาจจะยาก อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปรหัสผ่านที่ดีจะมีอย่างน้อย 8 ตัวอักษรวึ่งจะผสมกันระหว่างอักษร(ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่)และตัวเลข ยิ่งมีจำนวนอักษารมากเท่าไหร่รหัสผ่านของคุณก็จะยิ่งแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น

คุณอาจจะใช้ตัวสร้างนี้ซึ่งจะรับข้อมูลใดๆ เข้าไปแล้วจะสร้างรหัสผ่าน(ที่ใช้ได้สำหรับ xat)ซึ่งคุณสามารถนำมาใช้กับบัญชีของคุณได้: http://crypo.pw/secure-mpg1-online

เปลี่ยนรหัสผ่านของคุณเป็นระยะๆ

สำหรับอินเตอร์เน็ตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็วแล้ว ขอแนะนำให้คุณเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณทุกๆ 3 - 6 เดือน เพื่อป้องกันในกรณีที่เกิดข้อมูลรั่วไหลทางใดทางหนึ่ง บัญชีของคุณอาจจะไม่ได้รับผลกระทบ

การรักษาความปลอดภัยของอีเมล

การรักาาความปลอดภัยของอีเมลเป็นเรื่องสำคัญเป็นสองเท่า เพราะนี่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสารและเชื่อมต่อบัญชีต่างๆ ของคุณไว้ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น xat หรือของเว็บอื่นๆ

การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน

ผู้ให้บริการอีเมลจะยินดีให้คุณใช้การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนได้เพื่อรักษาบัญชีอีเมลของคุณ โดยคุณจำเป็นจะต้องให้หมายเลขโทนศัพท์ของคุณ ทุกครั้งที่ใคร(รวมทั้งตัวคุณ)พยายามเข้าใช้บัญชีอีเมลของคุณ คุณจะได้รับรหัสที่ส่งมายังโทรศัพท์เพื่อที่จะใส่ยืนยันในการล็อคอินเข้าอีเมลจึงจะสามารถเขาได้ ด้วยวิธีการนี้ เฉพาะใครที่มีโทรศัพท์ของคุณจึงจะสามารถล็อคอินเข้าบัญชีอีเมลของคุณได้

นี่คือรายชื่อของผู้ให้บริการที่ให้ผู้ช้ทำการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนได้:

หมายเหตุ: เรา "ไม่" แนะนำ Yahoo หรือ Hotmail/Outlook เนื่องจากมีนโยบายที่อนุญาตให้มีการนำอีเมลที่ไม่มีผู้ใช้งานแล้วกลับมาใช้งานต่อได้อีก